ความเป็นมาโครงการพัฒนาศักยภาพและพิทักษ์สิทธิเด็กไร้รัฐและไร้สัญชาติในภาวะยากลำบากในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ (ภาคใต้)
 |
ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิในพื้นที่ภาคใต้ สร้างความเสียหายอย่างมากต่อชุมชน ที่อยู่อาศัย เรือ อุปกรณ์ประมง ได้รับความเสียหาย ต่อมาหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
องค์กรและมูลนิธิต่างๆได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประสบภัยส่วนมาก ได้รับการช่วยเหลือจนสามารถฟื้นฟูชีวิตขึ้นใหม่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม พบกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือเนื่องจากเป็นบุคคลที่ไม่มีตัวตนในทะเบียนราษฏร
|
ไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีทะเบียนบ้าน จึงไม่สามารถแสดงตัวตนเป็นคนไทย จึงไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆเลย มีชีวิตที่ยากลำบาก เปลือยเปล่า ไร้อาภรณ์ห่อหุ้มทางสังคม
หน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินโครงการช่วยเหลือคนไร้สัญชาติ ในพื้นที่ภาคเหนือองค์กรแตร์เดซอม เล็งเห็นปัญหาความไร้รับและ ไร้สัญชาติของคนในพื้นที่ประสบภัย จึงให้การสนับสนุนทุนสำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว
ปี 2548-2549 องค์กรแตร์เดซอมให้การสนับสนุน
ปี 2550 องค์กรแอ็คชั่น เอด ประเทศไทยให้การสนับสนุน
ปี 2551 มูลนิธิเอเชียและองค์กรแอ็คชั่น เอด ประเทศไทยให้การสนับสนุน
โครงการที่ดำเนินการในปัจจุบัน คือ
โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถของเด็กและชุมชนเพื่อการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐและไร้สัญชาติในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยสำคัญที่จะเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐและไร้สัญชาติมิได้มีนัยของการทำให้บุคคลมีเพียงบัตรและเอกสารแสดงตัวตน แต่มันหมายถึงการทำให้เด็กคนหนึ่งๆและชุมชน ได้รับการคุ้มครอง ป้องกัน และดูแล ในฐานะพลเมืองแห่งรัฐ มีศักดิ์ศรี และมีสิทธิในฐานะมนุษยชาติของสังคมโลก ที่สำคัญคือการเปิดพื้นที่ ให้เด็กและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาในฐานะผู้เป็นเจ้าของปัญหาอย่างเข้าใจ มูลนิธิกระจกเงาเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีประสบการณ์ในการดำเนินการด้านเด็กและสิทธิ ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อประเด็นสิทธิของเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะยากลำบากจึงได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการดังนี้
1. กิจกรรมศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านกฏหมายและการพัฒนาสถานะบุคคล
กลุ่มเป้าหมาย เด็กและครอบครัวชาวมอแกนผู้ไร้สัญชาติในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้ประสบภัยสึนามิ
เพื่อการเป็นศูนย์เชื่อมประสานความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือชุมชนด้านกฎหมาย
เพื่อป้องกันและคุ้มครองสิทธิความเป็นพลเมืองของผู้ประสบภัยสึนามิ
เพื่อขจัดสภาพปัญหาความไร้รัฐและไร้สัญชาติของเด็กและชุมชนชาติพันธุ์ชาวมอแกน
กิจกรรม
จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือชุมชนในการพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมาย
จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายชุมชน(คลีนิกกฏหมายชุมชน)
จัดตั้งศูนย์ฮอทไลน์ สายด่วนกฎหมายชุมชน
1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถของชุมชนและอาสาสมัครชุมชน เพื่อการจัดการปัญหาด้านสถานภาพรวมทั้งการพิทักษ์และปกป้องสิทธิของตน
|

|
กลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และอาสาสมัครจากชุมชนชาวมอแกนผู้ไร้สัญชาติ ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่กลุ่มอาสาสมัครชุมชน
เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถของอาสาสมัครชุมชนในการพิทักษ์และปกป้องคุ้มครองสิทธิของชุมชน มิให้เกิดการละเมิดสิทธิ
เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาความสามารถของชุมชนในการจัดการปัญหาของตนเอง
กิจกรรมอาสาสมัครชุมชน
การจัดให้มีอาสาสมัครชุมชนเพื่อการปกป้องสิทธิ
จัดเวทีเสริมสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานะบุคคลร่วมระหว่างอาสาสมัครของโครงการและเครือข่าย
ระดับชุมชน
จัดการประชุมประจำเดือน
การจัดเวทีชาวบ้าน
2. กิจกรรมเครือข่ายเด็กและเยาวชนไร้สัญชาติ เพื่อการพิทักษ์สิทธิเด็ก
กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนไร้สัญชาติ เพื่อการพิทักษ์สิทธิเด็ก
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิในกลุ่มเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ไร้สัญชาติ ให้มีความรู้และความเข้าใจในสิทธิของตนและคนอื่น
เพื่อสร้างพื้นฐานการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนและการจัดการปัญหา
เพื่อสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนคนไร้สัญชาติให้เข้มแข็งและเติบโตเป็นกลุ่มแกนที่ทำงานและต่อสู้เพื่อชุมชนของตนในประเด็นด้านสิทธิต่อไป
กิจกรรม
จัดค่ายสิทธิเด็กและเยาวชน จำนวน 2 ค่าย
3. กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการปกป้องและพิทักษ์สิทธิชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
วัตถุประสงค์
เพื่อหนุนเสริมและสร้างมิติการทำงานระหว่างองค์กรปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านข้อมูลข่าวสารขององค์กรเครือข่ายภาคประชาชน
กิจกรรม
จัดทำจดหมายข่าวอีเลคทรอนิคส์ เดือนละ 1 ครั้ง ตลอด 12 เดือน
จัดทำเครือข่ายข่าวด่วนเพื่อการคุ้มครองสิทธิ ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ
4. กิจกรรมสื่อเพื่อการพัฒนาชุมชน และสร้างความตะหนักรู้ทางสังคมต่อประเด็นด้านสิทธิ
กลุ่มเป้าหมาย ชุมชนและสังคม
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิและกฏหมายพื้นฐานในชุมชน
เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้(สื่อกฏหมายรากหญ้า)ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมสื่อชุมชน
จัดทำสื่อวิดิทัศน์ในประเด็นกฎหมายและสิทธิพื้นฐานเป็นภาษาท้องถิ่น(มอแกน) จำนวน 10 ตอน
จัดทำโปสเตอร์รูปภาพให้ความรู้เรื่องกกหมายและสิทธิพื้นฐานสำหรับชุมชน จำนวน 1000 แผ่น
สื่อสาธารณะ
นำเสนอข่าวสารผ่านทางสื่อมวลชน (หนังสือ/โทรทัศน์) อย่างน้อย 4 ครั้ง
|